มาดูกันว่าการดูแลรถจักรยานยนต์รุ่นนี้ จะทำการดูแลรักษาเครื่องยนต์กันอย่างไรและความยากง่ายเพียงไหน จึงจะอยู่เป็นคู่หูคันโปรดกันไปอีกยาวนา...
อย่างแรกที่เราควรจะต้องรู้จักกันก็คือข้อมูลทางเทคนิคของรถ Kawasaki KSR 110 ก็คือเครื่องยนต์นั้นเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 1 สูบ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบ SOHC 2 VALVE ปริมาตรกระบอกสูบ 111 ซีซี ความกว้างกระบอกสูบ 53 มม. ช่วงชัก 50.6 มม. ระบบเกียร์ 4 เกียร์ เฟืองขบกันตลอด นี่คือข้อมูลบางส่วนที่ควรรู้และขอสรุปข้อมูลทั้งหมดในตอนท้ายเรื่องนะครับ ทีนี้เราก็มาดูการดูแลรักษากันดีกว่าครับ
การดูแลรักษานั้นก็ไม่มีอะไรมากแต่ก็ไม่ควรจะมองข้าม อย่างเช่นในส่วนของน้ำมันเครื่องก็ควรขยันตรวจเช็คสีของน้ำมันว่ามีการ เปลี่ยนสีไปจากเดิมหรือเปล่า ถ้าไม่มีการเปลี่ยนสีไปจากเดิมแต่หากครบกำหนดที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมันแล้วก็ ควรจะต้องเปลี่ยนเลย ระยะที่ครบกำหนดคือ 1000 – 3000 กม. แต่ทางที่ดีก็ไม่ควรเกิน 1000 กม. เพราะรถจักรยานยนต์ในประเภทนี้เป็นรถ ระบายความร้อนด้วยอากาศ ทำให้มีความร้อนสูงพอๆ กับรถเกียร์ออโตเมติก และทำให้เกิดการสึกหรอมาก และทำให้ความหนืดของน้ำมันเครื่องลดลงหรือที่เราเรียกว่าน้ำมันเครื่องใส
วิธีการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง
ตั้งรถจักรยานยนต์ถอดผาปิดช่องน้ำมันเครื่องและเช็ดก้านน้ำมัน ให้สะอาดและปิดฝาช่องเติมน้ำมันเครื่อง แต่ไม่ต้องขันเกลียว ถอดก้านน้ำมันเครื่องออกและเช็คระดับน้ำมันถ้าระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีด บอกระดับก้านวัดให้เติมน้ำมันเครื่องให้ได้ระดับ
วิธีการตรวจสอบหัวเทียน
เช็คการแตกร้าวของฉนวน เช็คการสึกหรอของเขี้ยวหัวเทียน เช็คสภาพการเผาไหม้และสีของฉนวนเขี้ยวหัวเทียน ซึ่งถ้าสีน้ำตาลแก่ถึงน้ำตาลอ่อนแสดงว่าการเผาไหม้สมบูรณ์ แต่ถ้าสีอ่อนเกินไปแสดงว่าระบบจุดระเบิดมีปัญหาหรือส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ บางเกินไป แต่ถ้ามีเขม่าสีดำหรือเปียกแสดงว่าส่วนผสมน้ำมันกับอากาศหนาเกินไป
การนำหัวเทียนกลับมาใช้ใหม่
สามารถน้ำหัวเทียนเก่ามาใช้ใหม่ได้แต่ท่านต้องนำมาทำความสะอาดก่อน ซึ่งการทำความสะอาดนั้นก็ไม่ได้อยากอะไรเลย ทำความสะอาดเขี้ยวหัวเทียนด้วยแปรงลวด เช็คระยะห่างระหว่างแกนกลางหัวเทียนกับเขี้ยวหัวเทียนด้วยฟิลเลอร์เกจถ้าจำ เป็นต้องปรับตั้งระยะห่างโดยการดัดเขี้ยวหัวเทียนด้วยความระมัดระวัง (ระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน 0.80-0.90มม.)
การตรวจสอบระยะห่างวาล์ว
การตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์วในขณะที่เครื่องยนต์เย็น (ต่ำกว่า 35 องศา) หมุนเพลาข้อเหวี่ยงทวนเข็มนาฬิกา จัดให้เครื่องหมาย T บนล้ำแม่เหล็กตรงกับเครื่องบนฝาครอบเครื่องด้านซ้าย และต้องแน่ใจว่าลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายบนในจังหวะอัดเช็คระยะห่างวาล์ว โดยสอดฟิลเลอร์เกจเข้าระหว่างสกรูปรับตั้งระยะห่างวาล์วกับก้านวาล์ว ระยะห่างวาล์ว ไอดี 0.06 มม. ไอเสีย 0.12 มม. แล้วดึงฟิลเลอร์เกจออก จะรู้สึกหนืดมือ และควรเช็คทุกๆ 300 กม.
การบำรุงรักษา คาร์บูเรเตอร์ และหม้อกรองอากาศ
ควรเช็คบ้างว่าสกปรกหรือไม่ ถ้าหากคาร์บูเรเตอร์สกปรกก็ควรถอดมาล้างเพราะถ้ามีเศษของขี้ผงอาจทำให้นมหนู อากาศอุดตันได้ และวิธีการทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ต้องถอดชิ้นส่วนของ ลูกเร่ง, นมหนูใหญ่, เสื้อนมหนูและนมหนูเดดินเบา, และสกรูปรับอากาศ การทำความสะอาดช่องทางเดินอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นควรใช้ลมแรงดันสูง เป่า ผ่านช่องทางเดินอากาศ และน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือนคาร์บูเรเตอร์หรืออาจจะใช้เศษลวดชิ้นเล็กๆ ใส่เข้าไปในรูทางช่องเดินน้ำมันและอากาศก็ได้แต่อาจทำให้ เกิดความเสียหายกับเรือนคาร์บูเรเตอร์ได้และทุกๆ ครั้งที่ล้างคาร์บูเรเตอร์ก็ควรนำไสกรองออกมาเป่าลมหรือซักกับน้ำสะอาดอยู่เสมอ ซึ่งก็จะช่วยให้ประหยัดน้ำมันได้อีกด้วย
ก็ผมขี่ KSR นี่คร้าบบบ....หุหุหุ..
ตอบลบ