1.ชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม หากกางแผนที่ประเทศไทยออกมา จะเห็นได้ว่า จังหวัดอุบลฯมีพื้นที่ตั้งของจังหวัด ไปในทิศตะวันออกมากกว่า...
1.ชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม
หากกางแผนที่ประเทศไทยออกมา จะเห็นได้ว่า จังหวัดอุบลฯมีพื้นที่ตั้งของจังหวัด ไปในทิศตะวันออกมากกว่าจังหวัดใดๆ ในประเทศ จังหวัดอุบลฯจึงมีจุดขายที่เราได้ยินจนคุ้นหูในเรื่องพบตะวันใหม่ก่อนใครใน สยาม โดยมี อำเภอโขงเจียม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ผาชนะได 3สถานที่นี้ เป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แบบไม่ซีเรียสว่าสถานที่ใดจะเห็นก่อนกัน แต่ แต่ แต่ ถ้าซีเรียสล่ะ จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันใหม่ในแต่ละวันอยู่ตรงไหนกันแน่
อำเภอโขงเจียม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ผาชนะได คือสถานที่ที่ส่งชื่อเข้าประกวดว่า ที่ใดจะเป็นจุดที่เห็นพระอาทิตย์ก่อนอย่างแท้จริง หยิบแผนที่มากางอีกที จะเห็นว่า บ้านปากลาในอำเภอโขงเจียมมีพิกัด และภูมิประเทศที่มีพื้นที่ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดกว่าอำเภอใดๆ ในประเทศไทย จึงน่าจะเป็นสถานที่ที่เห็นพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แต่ความเป็นจริง คือด้วยภูมิประเทศของอำเภอโขงเจียม ณ บ้านปากลา นั้น มีเทือกเขาสูงในประเทศลาวมาบทบังส่วนโค้งของโลก ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในยามเช้า อำเภอโขงเจียมจึงไม่ใช่จุดชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แต่น่าจะมีจุดขายอยู่ที่อำเภอโขงเจียมเป็นอำเภอที่แม่น้ำมูลแม่น้ำที่ได้ ชื่อว่าแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทยไหลลงสู่แม่น้ำโขง จนเกิดเป็นแม่น้ำสองสี โดยมีวลีว่า โขงสีปูน มูลสีคราม ก่อนบอกลาแม่น้ำโขงที่จะไหลเลยเข้าสู่ประเทศลาวต่อไป
ส่วนความจริง เรื่องชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยามจึงมุ่งไปที่ ผาชนะได ที่ที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้กำหนดเวลาพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้านั่นเอง แต่เส้นทางเข้าถึงไปได้จำนวนน้อย และยากลำบาก ส่วนผาแต้ม ถึงแม้จะเป็นที่รองแต่ก็เป็นที่ๆรองรับผู้ที่จะมาชมพระอาทิตย์ได้พร้อมกัน เป็นจำนวนมากได้ และ ยานพาหนะทุกชนิดสามารถเข้าถึงได้ ก็ลองเลือกกันดูว่า จะเลือกชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยามในรูปแบบไหน
2.ผาแต้มเสาเฉลียง
ภาพเขียนสีโบราณ 3000 ปีที่นี่ไม่มีใครไม่รู้จัก ถูกจัดให้เป็นตัวยืนของแหล่งท่องเที่ยวแถวหน้าของจังหวัดอุบลฯ ล่างสุดของเทือกเขาภูพานเป็นที่ตั้งของภูผาขามซึ่งเป็นเขาหินทราย มีลักษณะเป็นหน้าผาหินสูง เลียบลำน้ำโขง
บนหน้าผาหินสูงนี้มีลานหินใหญ่อยู่ด้านบน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เบื้องหน้าคือประเทศลาว ด้านใต้ลานหินใหญ่ที่เต็มไปด้วยภาพเขียนสีโบราณที่มีรูปวาดนับร้อยภาพเรียง รายและต่อเนื่องกัน ซึ่งถูกจัดให้เป็นภาพเขียนสีกลุ่มใหญ่ และเก่าแก่ที่สุดในประเทศตั้งแต่มีการพบเห็นมา ที่สำคัญรายละเอียดของภาพยังคงชัดเจน จึงถือเป็นศิลาจาลึกที่สำคัญที่จะบอกถึงเรื่องราวในอดีต สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้ให้ กับคนรุ่นหลังได้รับรู้
และถ้าหากไปเที่ยวในช่วงเดือนตุลาคม ยังจะได้ชมดอกไม้ป่าดอกเล็กดอกน้อยชูช่ออวดความสวยกันเต็มลานหินอีกด้วยและ ใกล้ๆผาแต้มจิตรกรรมโบราณยังมี เสาเฉลียงประติมากรรมแห่งธรรมชาติที่มีการกัดเซาะของฝน ลม และ แสงอาทิตย์ ต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาหลายล้านปี จนเกิดเป็นแท่งหินลักษณะคล้ายดอกเห็ดขนาดใหญ่เล็ก ตามจินตนากรของผู้พบเห็น
3.น้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกลงรู
หลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ออกมาจัด แคมเปญ unseen thailand ผู้คนก็หลั่งไหลมาเที่ยวชมความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของน้ำตกแห่งนี้อย่างไม่ ขาดสาย จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วประเทศ เรียกได้ว่าดังกว่าน้ำตกใหญ่ๆหลายแห่งด้วยซ้ำ น้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกลงรู อยู่ในพื้นที่การดูแลของอุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม น้ำตกแห่งนี้เกิดจากการรวมตัวของลำน้ำสาขาเล็กๆของแม่น้ำโขง หลายสายมารวมกัน โดยมีลักษณะพิเศษเด่น คือ สายน้ำตกจะตกลงมาจากช่องโพรงบนเพิงผา คือหน้าผาด้านบนมีช่องรูที่จะให้ลำน้ำไหลผ่านตกลงมาเบื้องล่าง ดูสวยแปลกตา จึงเป็นอีกแห่งที่ไม่น่าพลาด เมื่อมาถึงจังหวัดอุบลฯ (ควรไปในช่วงหน้าฝน เพราะจะเห็นน้ำที่ไหลลงรูและตกลงมาเป็นจำนวนมาก)
4.ชมสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคม
วารินชำราบ ย้อนหลังไปในยุคล่าอาณานิคม เป็นย่านธุรกิจแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลฯ หลังจากการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-อุบล ไปสุดทางที่ วารินชำราบ เมื่อ พ.ศ.2475 การค้าขายระหว่างอุบล กับกรุงเทพ ก็เริ่มคึกคักขึ้น ความจริญและการก่อสร้างก็ตามมา อาคารพาณิชย์ที่ถูกสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกก็ผุดขึ้นบนถนนแห่งนี้ ปัจจุบันกลุ่มอาคารพาณิชณ์โบราณตั้งอยู่ใกล้ๆกัน ส่วนใหญ่เป็นอาคาร 2ชั้น มีทั้งอาคารไม้และตึก จุดเด่นคือ การตบแต่งด้วยไม้ฉลุสายพรรณพฤกษาที่หน้าต่างชั้นบน และที่ประตูทางเข้าชั้นล่าง หาชมได้ที่ ถนนสถิตย์นิมานกาล และ ถนนทหาร ในเขตเทศบาลในตำบลวารินชำราบ
5.หัตถกรรม ผ้าทอ
อุบลราชธานี ส่งเสริมการทอทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ที่สำคัญมีลายผ้าที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัว คือลายกาบบัว ผ้าไหมของจังหวัดอุบลฯ มีความมันวาวในตัว มีเนื้อผ้านุ่ม บาง ไม่ลื่นมาก เมื่อคลี่ออกแล้วไม่ยับ และนอกจากนี้ยังมีลายตวยหรือลายกรวยเชิง ซึ่งมีลวดลายสวยแตกต่างกันไป ส่วนสีของผ้าที่นิยมก็คือสีชมพูกลีบบัว
นอกจากนั้นยังมีผ้าซิ่นลาวที่เป็นผ้าทอมือ ลวดลายเป็นช้าง รูปเจดีย์ รูปชฎา โดยสามารถหาหัตกรรมผ้าทอได้จากกลุ่มสตรีทอผ้าที่มีอยู่ในทุกอำเภอ หรือร้านขายผ้าทอพื้นเมือง
6.นมัสการพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง วัดมหาวนาราม พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดมหาวนาราม หากมาเยี่ยมเยือนถึงจังหวัดอุบลฯ ควรหาโอกาสแวะมาสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองสักครั้งหนึ่ง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร พระวรกายอิ่มเอิบ ทรวดทรงงดงาม น่าเลื่อมใส โดยด้านข้างของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงมีหลักศิลาจารึกโดยถอดความได้ว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.2350 ผู้สร้างคือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม)เจ้าเมืองอุบลคนที่ 2
ส่วนวัดมหาวนาราม สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เดิมชื่อวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดมหาวันหรือวัดป่าใหญ่ ก่อนจะมาเปลี่ยนนอีกครั้งเป็นวัดมหาวนาราม จนถึงปัจจุบัน
7.ชมโบสถ์ หอไตร และ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของดีเมืองอุบลฯ ณ วัดทุ่งศรีเมือง
วัดทุ่งศรีเมือง เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญอีกวัดหนึ่งของจังหวัดอุบลฯ ที่นี่ได้รับยกย่องว่ามีหอไตร ที่มีทรวดทรงสวยงามที่สุดในดินแดนอีสาน นอกจากหอไตร ยังมีหอพระบาทหรือโบสถ์ซึ่งสร้างในยุคสมัยเดียวกัน ซึ่งภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม
8.แวะชมแหล่งท่องเที่ยวล่าสุด 3000 โบก สามพันโบก เป็นแก่ง หินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ ใต้บาดาล และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่ง เล็ก ใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3 พันโบก
โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง และคำว่า “โบก” เป็น ภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์ น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ แหล่งใหญ่ที่สุด รักษาระบบนิเวศน์และการ ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยุ่ได้อย่างสมดุล
สำหรับในช่วงหน้าแล้ง สามพันโบก จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำ น้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่ง ใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออก ไปเช่น รูปดาว วงรี และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุด เดิ้ล มีความสวยงาม
9.ชิมอาหารญวนขึ้นชื่อ
อาหารการกินในจังหวัดอุบลฯ มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย ทั้งจากปลาน้ำจืด 2 แม่น้ำ คือปลาจากแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงแล้ว อาหารพื้นบ้านชาวอีสานที่มีปลาร้าเป็นตัวนำก็มาแรงไม่เบา แต่อย่างไรก็ดี มาอุบลฯ ทั้งทีไม่อยากให้พลาดชิมอาหารญวนสักมื้อ แหนมเนืองเป็นอาหารญวนเมนูแสนคุ้น ที่หากินได้ไม่ยาก
แต่ที่พลาดชิมไม่ได้เนี่ย อยากจะขอแนะนำจ๋าวบั๋นกัน หรือ ก๋วยจั๊บญวน ซึ่งต่างจากก๋วยจั๊บโดยทั่วไป คือ เส้นจะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กและเส้นใหญ่ แต่จะเหนียวกว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยทั่วไป เพราะมีส่วนผสมของแป้งข้าวเหนียวรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญใส่ซี่โครงหมู เลือดหมู หมูสับ ปีกไก่ น่องไก่ และตีนไก่ ในชามเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นหากสั่งรวมมิตรพิเศษก็จะเพิ่มหมูยอหั่นเป็นเส้นใส่เพิ่มลงไปอีก
ด้วยเครื่องเคราจำนวนหลากหลายแล้วยังประกอบไปด้วยสุดยอดน้ำต้มกระดูก และเส้นก๋วยจั๊บที่เหนียวนุ่มตามกรรมวิธีการนวดแป้งที่เป็นเอกลักณ์ของชาว ญวน ตบท้ายด้วยการใส่หอมเจียวแท้ๆไม่ใช่กระเทียมเจียวเหมือนทั่วๆไป จึงมีรสชาติโดยรวมที่ดี กลมกล่อม ไม่คุ้นลิ้นเท่าไรนัก จึงเป็นเมนูหนึ่งที่อยากแนะนำให้ลองชิมดูเมื่อมาเยือนเมืองอุบลฯ
นอกจากก๋วยจั๊บญวนตามแนะนำแล้วยังมีอีกหลายเมนูอาหารญวนให้เลือก อาหารญวนเหล่านี้หาชิมได้ทั่วไปในเมืองอุบล โดยเฉพาะข้างอาคารตลาดใหญ่ ลองเลือกชิมได้ตามอัธยาศัย
10.ซื้อของฝากเรื่องชื่อ
หมูยอเมืองอุบลเป็นของฝากที่เรื่องชื่อของจังหวัด เนื่องจากมีกรรมวิธีเฉพาะตัว และทำจากหมูล้วนๆ มีสูตรส่วนผสมของเครื่องเทศต่างๆ ห่อใบตองนึ่งด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมียอชนิดผสมมันหมู หรือหนังหมู เพื่อเอาใจคนชอบอ้วนอีกด้วย ด้วยความเรื่องชื่อของหมูยอนี่เองจึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อ สัตว์อื่นๆมาจำหน่ายเป็นของฝากร่วมกับหมูยอ อาทิ กุนเชียง ไส้กรอก แหนม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี หมูยอยังคงเป็นของฝากที่นักท่องเที่ยวนิยมมากที่สุดอยู่ดี ถนนศรีณรงค์ เป็นที่ตั้งของร้านขายหมูยอที่เก่าแก่อยู่หลายร้าน มีให้เลือกซื้อได้ตามความพอใจ...
ที่มา: ไกด์อุบลดอทคอม
หากกางแผนที่ประเทศไทยออกมา จะเห็นได้ว่า จังหวัดอุบลฯมีพื้นที่ตั้งของจังหวัด ไปในทิศตะวันออกมากกว่าจังหวัดใดๆ ในประเทศ จังหวัดอุบลฯจึงมีจุดขายที่เราได้ยินจนคุ้นหูในเรื่องพบตะวันใหม่ก่อนใครใน สยาม โดยมี อำเภอโขงเจียม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ผาชนะได 3สถานที่นี้ เป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แบบไม่ซีเรียสว่าสถานที่ใดจะเห็นก่อนกัน แต่ แต่ แต่ ถ้าซีเรียสล่ะ จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันใหม่ในแต่ละวันอยู่ตรงไหนกันแน่
อำเภอโขงเจียม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ผาชนะได คือสถานที่ที่ส่งชื่อเข้าประกวดว่า ที่ใดจะเป็นจุดที่เห็นพระอาทิตย์ก่อนอย่างแท้จริง หยิบแผนที่มากางอีกที จะเห็นว่า บ้านปากลาในอำเภอโขงเจียมมีพิกัด และภูมิประเทศที่มีพื้นที่ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดกว่าอำเภอใดๆ ในประเทศไทย จึงน่าจะเป็นสถานที่ที่เห็นพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แต่ความเป็นจริง คือด้วยภูมิประเทศของอำเภอโขงเจียม ณ บ้านปากลา นั้น มีเทือกเขาสูงในประเทศลาวมาบทบังส่วนโค้งของโลก ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในยามเช้า อำเภอโขงเจียมจึงไม่ใช่จุดชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยาม แต่น่าจะมีจุดขายอยู่ที่อำเภอโขงเจียมเป็นอำเภอที่แม่น้ำมูลแม่น้ำที่ได้ ชื่อว่าแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทยไหลลงสู่แม่น้ำโขง จนเกิดเป็นแม่น้ำสองสี โดยมีวลีว่า โขงสีปูน มูลสีคราม ก่อนบอกลาแม่น้ำโขงที่จะไหลเลยเข้าสู่ประเทศลาวต่อไป
ส่วนความจริง เรื่องชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยามจึงมุ่งไปที่ ผาชนะได ที่ที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้กำหนดเวลาพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้านั่นเอง แต่เส้นทางเข้าถึงไปได้จำนวนน้อย และยากลำบาก ส่วนผาแต้ม ถึงแม้จะเป็นที่รองแต่ก็เป็นที่ๆรองรับผู้ที่จะมาชมพระอาทิตย์ได้พร้อมกัน เป็นจำนวนมากได้ และ ยานพาหนะทุกชนิดสามารถเข้าถึงได้ ก็ลองเลือกกันดูว่า จะเลือกชมพระอาทิตย์ก่อนใครในสยามในรูปแบบไหน
2.ผาแต้มเสาเฉลียง
ภาพเขียนสีโบราณ 3000 ปีที่นี่ไม่มีใครไม่รู้จัก ถูกจัดให้เป็นตัวยืนของแหล่งท่องเที่ยวแถวหน้าของจังหวัดอุบลฯ ล่างสุดของเทือกเขาภูพานเป็นที่ตั้งของภูผาขามซึ่งเป็นเขาหินทราย มีลักษณะเป็นหน้าผาหินสูง เลียบลำน้ำโขง
และถ้าหากไปเที่ยวในช่วงเดือนตุลาคม ยังจะได้ชมดอกไม้ป่าดอกเล็กดอกน้อยชูช่ออวดความสวยกันเต็มลานหินอีกด้วยและ ใกล้ๆผาแต้มจิตรกรรมโบราณยังมี เสาเฉลียงประติมากรรมแห่งธรรมชาติที่มีการกัดเซาะของฝน ลม และ แสงอาทิตย์ ต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาหลายล้านปี จนเกิดเป็นแท่งหินลักษณะคล้ายดอกเห็ดขนาดใหญ่เล็ก ตามจินตนากรของผู้พบเห็น
3.น้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกลงรู
4.ชมสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคม
วารินชำราบ ย้อนหลังไปในยุคล่าอาณานิคม เป็นย่านธุรกิจแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลฯ หลังจากการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-อุบล ไปสุดทางที่ วารินชำราบ เมื่อ พ.ศ.2475 การค้าขายระหว่างอุบล กับกรุงเทพ ก็เริ่มคึกคักขึ้น ความจริญและการก่อสร้างก็ตามมา อาคารพาณิชย์ที่ถูกสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกก็ผุดขึ้นบนถนนแห่งนี้ ปัจจุบันกลุ่มอาคารพาณิชณ์โบราณตั้งอยู่ใกล้ๆกัน ส่วนใหญ่เป็นอาคาร 2ชั้น มีทั้งอาคารไม้และตึก จุดเด่นคือ การตบแต่งด้วยไม้ฉลุสายพรรณพฤกษาที่หน้าต่างชั้นบน และที่ประตูทางเข้าชั้นล่าง หาชมได้ที่ ถนนสถิตย์นิมานกาล และ ถนนทหาร ในเขตเทศบาลในตำบลวารินชำราบ
5.หัตถกรรม ผ้าทอ
นอกจากนั้นยังมีผ้าซิ่นลาวที่เป็นผ้าทอมือ ลวดลายเป็นช้าง รูปเจดีย์ รูปชฎา โดยสามารถหาหัตกรรมผ้าทอได้จากกลุ่มสตรีทอผ้าที่มีอยู่ในทุกอำเภอ หรือร้านขายผ้าทอพื้นเมือง
6.นมัสการพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง วัดมหาวนาราม พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดมหาวนาราม หากมาเยี่ยมเยือนถึงจังหวัดอุบลฯ ควรหาโอกาสแวะมาสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองสักครั้งหนึ่ง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร พระวรกายอิ่มเอิบ ทรวดทรงงดงาม น่าเลื่อมใส โดยด้านข้างของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงมีหลักศิลาจารึกโดยถอดความได้ว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.2350 ผู้สร้างคือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม)เจ้าเมืองอุบลคนที่ 2
ส่วนวัดมหาวนาราม สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เดิมชื่อวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดมหาวันหรือวัดป่าใหญ่ ก่อนจะมาเปลี่ยนนอีกครั้งเป็นวัดมหาวนาราม จนถึงปัจจุบัน
7.ชมโบสถ์ หอไตร และ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของดีเมืองอุบลฯ ณ วัดทุ่งศรีเมือง
วัดทุ่งศรีเมือง เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญอีกวัดหนึ่งของจังหวัดอุบลฯ ที่นี่ได้รับยกย่องว่ามีหอไตร ที่มีทรวดทรงสวยงามที่สุดในดินแดนอีสาน นอกจากหอไตร ยังมีหอพระบาทหรือโบสถ์ซึ่งสร้างในยุคสมัยเดียวกัน ซึ่งภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม
8.แวะชมแหล่งท่องเที่ยวล่าสุด 3000 โบก สามพันโบก เป็นแก่ง หินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ ใต้บาดาล และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่ง เล็ก ใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3 พันโบก
โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง และคำว่า “โบก” เป็น ภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์ น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ แหล่งใหญ่ที่สุด รักษาระบบนิเวศน์และการ ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยุ่ได้อย่างสมดุล
สำหรับในช่วงหน้าแล้ง สามพันโบก จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำ น้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่ง ใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออก ไปเช่น รูปดาว วงรี และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุด เดิ้ล มีความสวยงาม
9.ชิมอาหารญวนขึ้นชื่อ
แต่ที่พลาดชิมไม่ได้เนี่ย อยากจะขอแนะนำจ๋าวบั๋นกัน หรือ ก๋วยจั๊บญวน ซึ่งต่างจากก๋วยจั๊บโดยทั่วไป คือ เส้นจะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กและเส้นใหญ่ แต่จะเหนียวกว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยทั่วไป เพราะมีส่วนผสมของแป้งข้าวเหนียวรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญใส่ซี่โครงหมู เลือดหมู หมูสับ ปีกไก่ น่องไก่ และตีนไก่ ในชามเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นหากสั่งรวมมิตรพิเศษก็จะเพิ่มหมูยอหั่นเป็นเส้นใส่เพิ่มลงไปอีก
ด้วยเครื่องเคราจำนวนหลากหลายแล้วยังประกอบไปด้วยสุดยอดน้ำต้มกระดูก และเส้นก๋วยจั๊บที่เหนียวนุ่มตามกรรมวิธีการนวดแป้งที่เป็นเอกลักณ์ของชาว ญวน ตบท้ายด้วยการใส่หอมเจียวแท้ๆไม่ใช่กระเทียมเจียวเหมือนทั่วๆไป จึงมีรสชาติโดยรวมที่ดี กลมกล่อม ไม่คุ้นลิ้นเท่าไรนัก จึงเป็นเมนูหนึ่งที่อยากแนะนำให้ลองชิมดูเมื่อมาเยือนเมืองอุบลฯ
นอกจากก๋วยจั๊บญวนตามแนะนำแล้วยังมีอีกหลายเมนูอาหารญวนให้เลือก อาหารญวนเหล่านี้หาชิมได้ทั่วไปในเมืองอุบล โดยเฉพาะข้างอาคารตลาดใหญ่ ลองเลือกชิมได้ตามอัธยาศัย
10.ซื้อของฝากเรื่องชื่อ
หมูยอเมืองอุบลเป็นของฝากที่เรื่องชื่อของจังหวัด เนื่องจากมีกรรมวิธีเฉพาะตัว และทำจากหมูล้วนๆ มีสูตรส่วนผสมของเครื่องเทศต่างๆ ห่อใบตองนึ่งด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมียอชนิดผสมมันหมู หรือหนังหมู เพื่อเอาใจคนชอบอ้วนอีกด้วย ด้วยความเรื่องชื่อของหมูยอนี่เองจึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อ สัตว์อื่นๆมาจำหน่ายเป็นของฝากร่วมกับหมูยอ อาทิ กุนเชียง ไส้กรอก แหนม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี หมูยอยังคงเป็นของฝากที่นักท่องเที่ยวนิยมมากที่สุดอยู่ดี ถนนศรีณรงค์ เป็นที่ตั้งของร้านขายหมูยอที่เก่าแก่อยู่หลายร้าน มีให้เลือกซื้อได้ตามความพอใจ...
ที่มา: ไกด์อุบลดอทคอม
COMMENTS