คอมพิวเตอร์พกพาสมัยนี้มีอะไรดีๆ เยอะนะครับไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่อง ชิฟที่เจ๋งกว่าเดิม การประมวลผลก็เร็วกว่าเดิม แต่อย่างหนึ่งที่โน๊ตบุ๊คยังไม่...
คอมพิวเตอร์พกพาสมัยนี้มีอะไรดีๆ เยอะนะครับไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่อง ชิฟที่เจ๋งกว่าเดิม การประมวลผลก็เร็วกว่าเดิม แต่อย่างหนึ่งที่โน๊ตบุ๊คยังไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ มันต้องพึ่งแบตเตอรี่ ทุกๆครั้งที่เราเปิดเจ้าโน๊ตบุคตัวโปรดมันก็ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลงแล้วหล่ะครับ ส่วนใหญ่แล้วเราจะใช้งานแบตเตอรี่ได้เต็มที่สูงสุดก็ราวๆ 3-4 ชั่วโมงและต่อไปนี้คือวิธีที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่และทำให้เครื่องโน้ตบุ๊กของคุณสามารถประหยัดพลังงาน และใช้งานแบตเตอร์รี่ของคุณเพิ่มเติมได้อีกหลายนาที

1. จัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ
ฮาร์ดดิสก์เป็นจุดที่ทำงานช้าและใช้พลังงานมากที่สุดจุดหนึ่งของเครื่องโน้ต บุ๊ก ยิ่งเราสามารถทำให้ฮาร์ดดิสก์ของเราทำงานได้ไวมากขึ้นเท่าไร ความต้องการที่จะใช้พลังงานก็จะน้อยลงเท่านั้น วิธีการหนึ่งที่ทำให้เครื่องทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ ก็คือการ Defragment หรือจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์นั้นเอง โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น หัวอ่านจะต้องคอยหมุนไปตามตำแหน่งต่างๆ ในดิสก์เพื่อหาไฟล์ที่เราต้องการให้เจอ การจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะทำให้ไฟล์เรียงกันเป็นระเบียบ และลดภาระของหัวอ่าน ทำให้ประหยัดพลังงานและยืดอายุของฮาร์ดดิสก์ออกไปด้วย สำหรับการจัดเรียงนั้นง่ายมาก เราสามารถใช้โปรแกรมของ Windows ได้เลย หรือว่าจะหาโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งานแทนก็ได้ ซึ่งแบบหลังจะได้โปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดเรียงมากกว่า เช่น สามารถเรียงตามไฟล์ที่ใช้งานบ่อยๆ ได้ หรือว่าจัดเรียงแบบแยกตำแหน่งให้ ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ก็เช่น O&O Defrag หรือ Diskeeper แต่เราต้องบอกไว้ก่อนว่ายิ่งฮาร์ดดิสก์มีข้อมูลมากเท่าไร ก็ยิ่งเสียเวลาในการทำนานมากขึ้นเท่านั้น
สำหรับคนใช้เครื่อง Mac การจัดเรียงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์อาจจะไม่จำเป็นมากนักเพราะการออกแบบระบบ OS X

2. ลดความสว่างของหน้าจอ
โน้ตบุ๊กเกือบทุกตัวมีปุ่ม FN ที่สามารถลดความสว่างของหน้าจอได้ บางเครื่องมาพร้อมระบบปรับความเร็วของ CPU และพัดลมด้วยซ้ำ ทำให้เราสามารถประหยัดพลังงานเวลาที่ไม่ได้ต้องการความเร็วในการประมวลผล สูงๆ ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้ทำงานกลางแจ้งหรือสถานที่ที่ต้องสู้แสงมากๆ ลองลดความสว่างหน้าจอลงไปบ้าง ก็่ช่วยให้แบตเตอร์รี่ของคุณอยู่ได้อีกนานขึ้นเยอะ

3. ปิดโปรแกรมที่ทำงานอยู่ด้านหลังออกไปบ้าง
หากคุณเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจอะไรเวลาลงโปรแกรมล่ะก็ คุณจะได้โปรแกรมที่แอบทำงานอยู่เงียบๆ อยู่ข้างหลังตามมาเป็นว่าเล่น โปรแกรมพวกนี้ชอบถูกสั่งให้เปิดขึ้นมารอการใช้งานพร้อมกับ Windows ตั้งแต่แรก นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณบูตช้าลงทุกวันๆ ลองปิดทุกโปรแกรมที่คุณเห็นลงไป และลองเปิด Task Manager ขึ้นมาดู คุณอาจจะตกใจที่เห็นว่ามีโปรแกรมอะไรทำงานอยู่เต็มไปหมด ลองลบโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออกจาก Start Folder บ้าง หรือจะใช้โปรแกรมอย่าง CCleaner ซึ่งสามารถดูได้ว่ามีโปรแกรมอะไรบ้างที่ถูกสั่งให้เปิดพร้อมกับเครื่อง ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าโปรแกรมไหนสามารถลบได้เลย ลองสั่ง Disable ดูก่อนก็ได้ หากไม่มีปัญหาอะไรในภายหลัง คุณก็สามารถลบได้อย่างสบายใจ แค่นี้ นอกจากเครื่องจะทำงานได้ไวขึ้นแล้ว แบตยังอยู่ได้นานขึ้นด้วย ได้สองต่อเลย

4. ปิดการทำงานของ Auto Save
ถ้าคุณต้องพิมพ์งานกับเอกสารเยอะๆ โดยใช้ Microsoft Word หรือ Excel แล้วล่ะก็ คุณจะเห็นว่ามีระบบ Auto Save ที่ทำงานอยู่ด้านหลังด้วย การปิดความสามารถตัวนี้จะทำให้เครื่องได้พลังงานคืนมาอีกนิดหน่อย แต่ก็ควรจะกลับมาเปิดเวลาที่แบตใกล้จะหมดแล้ว ระบบนี้เป็นระบบที่ดี การปิดในต้องแรกจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า

5. ดึงอุปกรณ์ภายนอกที่ไม่ได้ใช้ออก
อุปกรณ์ USB ทั้งหลายแหล่ที่คุณเสียบทิ้งไว้กับเครื่อง จะดึงพลังงานออกไปจากแบตอยู่เสมอ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม แม้แต่เม้าส์และตัว WiFi ถ้าหากคุณไม่ได้ใช้งานก็ควรจะปิด เพื่อให้เครื่องตัดกระแสไฟออกไป หรือว่าถ้าถอดออกมาจากช่องได้ก็ควรจะถอดออกมาเลย และอย่าเผลอไปเสียบอุปกรณ์ที่สามารถชาร์ตไฟผ่านสาย USB ได้อย่างโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ล่ะ เพราะว่าไฟจะไล่ออกจากแบตไปจนไม่เหลืออะไรเลย

6. เพิ่มหน่วยความจำให้พอต่อการใช้งาน
ยิ่งเครื่องมีแรมมากพอจะให้โปรแกรมใช้เท่าไร โอกาสที่โปรแกรมจะไปใช้ Virtual Memory จะลดลง ส่วน Virtual Memory คืออะไรนั้น ถ้าพูดง่ายๆ มันคือแรมที่ถูกจำลองขึ้นมาบนฮาร์ดดิสก์เพราะว่าแรมจริงนั้นมีไม่พอที่จะใช้ ทำงาน และอย่างที่เราบอกไปในข้อแรมว่า ฮาร์ดดิสก์ทำงานช้าและใช้พลังงานเยอะมาก นอกจากเครื่องของคุณจะช้าแล้วแบตก็จะหมดไวขึ้น แต่การเพิ่มแรมจนมากเกินไปก็ไม่เป็นประโยชน์ เพราะโปรแกรมไม่สามารถดึงข้อมูลทุกอย่างไปไว้ในแรมได้อย่างเดียว เอาเป็นว่ามีให้เพียงพอก็พอเพียงแล้ว

7. พยายามรันทุกอย่างจากฮาร์ดดิสก์แทน CD หรือ DVD
จริงอยู่ที่ผ่านมาเราอาจจะบอกว่าฮาร์ดดิสก์กินไฟมาก แต่แล้วทำไมถึงแนะนำแบบนี้ นั้นเป็นเพราะถ้าเทียบกับเครื่องเล่น CD / DVD แล้ว จานบินพวกนั้นนรกยิ่งกว่า นอกจากเครื่องจะค่อยๆ หมุนเพื่ออ่านข้อมูลแล้ว อัตราการส่งข้อมูลที่ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ ทำให้เครื่องเล่น CD / DVD เป็นตัวกินไฟยิ่งกว่า ถ้าคุณอยากจะดูหนังหรือว่าใช้ข้อมูลจากแผ่นเป็นประจำ เราขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมทำอิมเมจของแผ่น เช่น CloneCD หรือ Alcohol 120% และเอาไฟล์ที่ได้เปิดกับไดรว์จำลองดีกว่า คุณจะได้ทั้งความเร็วที่เพิ่มขึ้นหลายเท่า ช่วยประหยัดแบตเตอร์รี่ และรักษาสภาพหัวอ่านมากกว่าด้วย

8. ทำความสะอาดแบตเตอร์รี่ของคุณบ้าง
ลองถอดแบตเตอร์รี่ออกมาทำความสะอาดบ้าง โดยเฉพาะจุดที่เป็นขั้วโลหะที่เอาไว้สัมผัส การทำความสะอาดบริเวณนั้นจะทำให้การส่งไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่าเอาน้ำยาอะไรไปเช็ด เพราะว่าถ้าเส้นโลหะบริเวณนั้นหายไป คุณได้ซื้อแบตใหม่แน่ๆ
9. ดูแลรักษาแบตเตอร์รี่ให้ถูกต้อง
การชาร์ตแบตที่ดีไม่ควรจะปล่อยให้ไฟไหลเข้าไปจนเต็มแล้วก็แช่ทิ้งเอาไว้ อย่างนั้น ซึ่งปกติเราก็มักจะทำกัน เราควรจะตัดไฟออกเพื่อให้แบตเตอร์รี่ได้ทำงานเต็มๆ บ้าง และทำแบบนี้ทุกๆ สองถึงสามอาทิตย์ สำหรับแบตรุ่นใหม่ๆ ที่เป็น Li-On อย่าปล่อยให้แบตหมดจนไม่เหลือประจุเลย ถ้าหากอยู่ที่บ้านเราแนะนำให้หาปลั้กกันไฟกระชาก และเสียบทำงานโดยถอดแบตออกดีกว่า จะเป็นการยืดอายุการใช้งานแบตที่ดีมากๆ

10. Hibernate แทนการ Standby
เครื่องทั่วไปมักจะตั้งโหมด Standby เอาไว้เป็นหลัก ทำให้ช่วยเราประหยัดไฟได้ระดับหนึ่ง ถ้าหากว่าเราออกไปธุระที่ไหนนานๆ แต่ว่าถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะใช้ Hibernate มากกว่าเพราะเครื่องคอมของเราจะได้รับการตัดไฟออกไปจริงๆ ส่วนโปรแกรมต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องปิดด้วย เพราะว่าทุกอย่างที่ทำก่อนเข้าโหมด Hibernate จะถูกบันทึกไว้ในฮาร์ดดิสก์ที่มีการสำรองไว้แล้ว แต่เราก็ไม่แนะนำให้ทำบ่อยครั้งติดๆ กันเกินไป เพราะ Windows และโปรแกรมต่างๆ ก็ควรได้รับการรีสตาร์ตเพื่อให้มันทำงานได้เต็มประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน

11. พยายามรักษาอุณหภูมิให้ต่ำ
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทจะทำงานได้ดีในอุณหภูมิต่ำๆ ดังนั้น การลงทุนซื้อแผ่นรองโน้ตบุ๊กที่เหมาะกับเครื่องที่คุณมีก็เป็นการลงทุนที่ คุ้มค่า และจะดียิ่งกว่านั้นถ้าตอนที่ซื้อเครื่อง คุณขอร้านมองดูใต้เครื่องก่อนเลยว่ามันมีช่องระบายอากาศเยอะพอไหม เพราะถ้าหากคุณซื้อเครื่องที่ไม่มีช่องระบายอากาศมาเลย ก็คงจะต้องเปิดฝาเล่นกันบ้างล่ะ
12. ปรับแต่งระบบ Power Option
วิธีการที่จะช่วยประหยัดพลังงานได้อีกคือ เข้าไปที Control Panel จากนั้นเปิด Power Option และปรับแต่งการตั้งค่าให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งานของคุณ เช่น ถ้าคุณทำงานออฟฟิตและต้องลุกไปไหนมาไหนบ่อยๆ การตั้งเวลาให้จอปิดภายใน 1 – 3 นาทีเลย ก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะนอกจากมันจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว มันเป็นเรื่องของความปลอดภัยในข้อมูลด้วย

13. อย่าทำงานพร้อมกันหลายๆ อย่าง
ถ้าอยากให้แบตอยู่ได้นานๆ ก็พยายามลดการเปิดโปรแกรมหลายๆ อย่าง ให้ทำงานไปพร้อมกัน เช่น เปิด Microsoft Word เพื่อรอพิมพ์งานขณะที่แชทกับเพื่อนผ่าน MSN ระหว่างปลูกผักใน Facebook และฟังเพลงไปเพลินๆ เราของบอกสั้นๆ ว่า เลือกเอาสักอย่าง
14. จัดลำดับความสำคัญของงาน
อย่างที่รู้ๆ กันว่าการพิมพ์เอกสารกหรือดูอีเมล์ ใช้พลังงานน้อยกว่าการเล่นเกมหรือดูหนังจากแผ่น DVD ดังนั้น ถ้าในแต่ละวัน คุณสามารถชาร์ตแบตไปจากบ้านได้ครั้งเดียว ลองคิดดูก่อนว่ามีงานอะไรที่สำคัญที่สุด พยายามลดการทำอย่างอืนที่ไม่จำเป็นกับเครื่องลง นอกจากประหยัดพลังงานแล้วคุณยังได้เรียนรู้การจัดระเบียบให้ตัวคุณเองด้วย แม้ว่าคุณจะอายุปูดนี้แล้วก็ตาม

15. หาเครื่องใหม่ที่เหมาะกับคุณมากกว่า
เครื่องโน้ตบุ๊กมีการออกแบบให้แตกต่างไปตามกลุ่มผู้ใช้ ถ้าคุณอยากได้แบตยาวๆ และเบา ก็น่าจะลองมองหาเครื่องที่ใช้หน่วยประมวลผลที่กินไฟน้อย หรือเครื่องที่ให้แบตเตอร์รี่เยอะกว่าปกติ แต่ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งว่า เครื่องที่ประหยัดพลังงานมากๆ มักจะช้ากว่าปกติด้วย ดังนั้น ขอให้คุณเลือกเครื่องให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อละกัน
วิธีการป้องกันแบตไม่ให้เสื่อมเร็ว
ทีนี้ลองพลิกดูแบตเตอรี่ของคุณๆ ดูว่าใช่แบตเตอรี่แบบ Lithium กันรึเปล่า ถ้าใช่แล้ว เรามาไขข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแบตเตอรี่ lithium กันเลยดีกว่าครับ
1. ตารางเจ้าปัญหา ความจริงที่ถูกบิดเบือน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตารางข้างต้นแสดงถึงว่าถ้าเราชาร์ตไฟด้วยกระแสไฟสูงในเวลาสั้นหรือใช้ไฟจากแบตในปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น จะทำให้แบตเตอรี่แบบ lithium เสื่อมเร็วขึ้น (จำนวน cycle ลดลง)
ส่วนกรณีที่ยกมาอ้างว่า การชาร์ตไฟบ่อยๆหรือการใช้ไฟจากแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยแล้วรีบชาร์ตกลับให้ เต็ม 100% เป็นการช่วยเพิ่มจำนวน cycle นั้นไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย เพราะ การเพิ่มลดของจำนวน cycle ไม่เกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานว่าใช้มากใช้น้อยแล้วค่อยชาร์ตไฟ แต่จำนวน cycle เกี่ยวข้องโดยตรงกับรูปเครื่องชาร์ตว่าชาร์ตเร็วหรือช้า ถ้ายิ่งชาร์ตเร็วแบตฯก็จะเสี่ยมเร็ว ถ้าเครื่องชาร์ตค่อยๆ ชาร์ตแบตก็จะเสื่อมช้า
จำนวน 1 Cycle จะวัดจากปริมาณการชาร์ตไฟที่รวมๆแล้ว เท่ากับปริมาณการชาร์ตไฟจากแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ(0%) จนแบตเตอรี่มีไฟเต็ม(100%) 1 ครั้ง
เช่น ถ้าเราชาร์ตครั้งแรกจากแบตเตอรี่ 50%=>100% การชาร์ตครั้งนี้ก็จะนับเท่ากับ 0.5 cycle
ข้อมูลตรงนี้เป็นที่ยืนยันจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ(ทั้งที่อ้างอิงไว้ ข้างล่าง และที่อื่นๆ) มีใจความตรงกันว่า การชาร์ตมาชาร์ตน้อย ชาร์ตนาน ชาร์ตถี่ ชาร์ตบ่อย มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่น้อยมาก ส่วนข้อความข้างต้นที่ยกมานั้นเป็นคำแนะนำสำหรับแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆที่ไม่ ใช่ lithium ครับ
การที่แบตเตอรี่แบบ lithium จะเสื่อมจากการใช้งานนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 เงื่อนไข คือ
สรุปว่าข้อความข้างต้นเป็นจริงเฉพาะแบตเตอรี่ lithium ที่เก็บไว้นานๆโดยไม่ใช้งานครับ
2. เสียบปลั๊กแล้วถอดแบตฯ
ข้อดี
โดยส่วนตัวผมจะแนะนำให้เสียบแบตฯ ทิ้งเอาไว้ครับ เพราะข้อดีมีเยอะกว่าข้อเสียและที่สำคัญคือ ถึงแม้การเสียบแบตฯไว้อาจจะทำให้แบตฯเสื่อมจากความร้อนได้แต่ในความเป็นจริงแล้ว Notebook ทุกวันนี้ออกแบบมาให้ตรงส่วนที่เป็นแบตเตอรี่เป็นฉนวนความร้อนครับ ดังนั้นความร้อนก็จะส่งไปถึงแบตเตอรี่ได้ไม่มากนัก เรียกง่ายๆว่าถ้าเครื่องมันร้อนมากคนใช้ Notebook จะร้อนมือก่อนที่แบตจะร้อนเสียอีกด้วยซ้ำครับ แจ่มดีใช่ไหมละ เอิ้กๆๆ
ที่มา: http://notebookspec.com/
1. จัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ
ฮาร์ดดิสก์เป็นจุดที่ทำงานช้าและใช้พลังงานมากที่สุดจุดหนึ่งของเครื่องโน้ต บุ๊ก ยิ่งเราสามารถทำให้ฮาร์ดดิสก์ของเราทำงานได้ไวมากขึ้นเท่าไร ความต้องการที่จะใช้พลังงานก็จะน้อยลงเท่านั้น วิธีการหนึ่งที่ทำให้เครื่องทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ ก็คือการ Defragment หรือจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์นั้นเอง โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น หัวอ่านจะต้องคอยหมุนไปตามตำแหน่งต่างๆ ในดิสก์เพื่อหาไฟล์ที่เราต้องการให้เจอ การจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะทำให้ไฟล์เรียงกันเป็นระเบียบ และลดภาระของหัวอ่าน ทำให้ประหยัดพลังงานและยืดอายุของฮาร์ดดิสก์ออกไปด้วย สำหรับการจัดเรียงนั้นง่ายมาก เราสามารถใช้โปรแกรมของ Windows ได้เลย หรือว่าจะหาโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งานแทนก็ได้ ซึ่งแบบหลังจะได้โปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดเรียงมากกว่า เช่น สามารถเรียงตามไฟล์ที่ใช้งานบ่อยๆ ได้ หรือว่าจัดเรียงแบบแยกตำแหน่งให้ ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ก็เช่น O&O Defrag หรือ Diskeeper แต่เราต้องบอกไว้ก่อนว่ายิ่งฮาร์ดดิสก์มีข้อมูลมากเท่าไร ก็ยิ่งเสียเวลาในการทำนานมากขึ้นเท่านั้น
สำหรับคนใช้เครื่อง Mac การจัดเรียงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์อาจจะไม่จำเป็นมากนักเพราะการออกแบบระบบ OS X
2. ลดความสว่างของหน้าจอ
โน้ตบุ๊กเกือบทุกตัวมีปุ่ม FN ที่สามารถลดความสว่างของหน้าจอได้ บางเครื่องมาพร้อมระบบปรับความเร็วของ CPU และพัดลมด้วยซ้ำ ทำให้เราสามารถประหยัดพลังงานเวลาที่ไม่ได้ต้องการความเร็วในการประมวลผล สูงๆ ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้ทำงานกลางแจ้งหรือสถานที่ที่ต้องสู้แสงมากๆ ลองลดความสว่างหน้าจอลงไปบ้าง ก็่ช่วยให้แบตเตอร์รี่ของคุณอยู่ได้อีกนานขึ้นเยอะ
3. ปิดโปรแกรมที่ทำงานอยู่ด้านหลังออกไปบ้าง
หากคุณเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจอะไรเวลาลงโปรแกรมล่ะก็ คุณจะได้โปรแกรมที่แอบทำงานอยู่เงียบๆ อยู่ข้างหลังตามมาเป็นว่าเล่น โปรแกรมพวกนี้ชอบถูกสั่งให้เปิดขึ้นมารอการใช้งานพร้อมกับ Windows ตั้งแต่แรก นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณบูตช้าลงทุกวันๆ ลองปิดทุกโปรแกรมที่คุณเห็นลงไป และลองเปิด Task Manager ขึ้นมาดู คุณอาจจะตกใจที่เห็นว่ามีโปรแกรมอะไรทำงานอยู่เต็มไปหมด ลองลบโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออกจาก Start Folder บ้าง หรือจะใช้โปรแกรมอย่าง CCleaner ซึ่งสามารถดูได้ว่ามีโปรแกรมอะไรบ้างที่ถูกสั่งให้เปิดพร้อมกับเครื่อง ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าโปรแกรมไหนสามารถลบได้เลย ลองสั่ง Disable ดูก่อนก็ได้ หากไม่มีปัญหาอะไรในภายหลัง คุณก็สามารถลบได้อย่างสบายใจ แค่นี้ นอกจากเครื่องจะทำงานได้ไวขึ้นแล้ว แบตยังอยู่ได้นานขึ้นด้วย ได้สองต่อเลย
4. ปิดการทำงานของ Auto Save
ถ้าคุณต้องพิมพ์งานกับเอกสารเยอะๆ โดยใช้ Microsoft Word หรือ Excel แล้วล่ะก็ คุณจะเห็นว่ามีระบบ Auto Save ที่ทำงานอยู่ด้านหลังด้วย การปิดความสามารถตัวนี้จะทำให้เครื่องได้พลังงานคืนมาอีกนิดหน่อย แต่ก็ควรจะกลับมาเปิดเวลาที่แบตใกล้จะหมดแล้ว ระบบนี้เป็นระบบที่ดี การปิดในต้องแรกจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า
5. ดึงอุปกรณ์ภายนอกที่ไม่ได้ใช้ออก
อุปกรณ์ USB ทั้งหลายแหล่ที่คุณเสียบทิ้งไว้กับเครื่อง จะดึงพลังงานออกไปจากแบตอยู่เสมอ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม แม้แต่เม้าส์และตัว WiFi ถ้าหากคุณไม่ได้ใช้งานก็ควรจะปิด เพื่อให้เครื่องตัดกระแสไฟออกไป หรือว่าถ้าถอดออกมาจากช่องได้ก็ควรจะถอดออกมาเลย และอย่าเผลอไปเสียบอุปกรณ์ที่สามารถชาร์ตไฟผ่านสาย USB ได้อย่างโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ล่ะ เพราะว่าไฟจะไล่ออกจากแบตไปจนไม่เหลืออะไรเลย
6. เพิ่มหน่วยความจำให้พอต่อการใช้งาน
ยิ่งเครื่องมีแรมมากพอจะให้โปรแกรมใช้เท่าไร โอกาสที่โปรแกรมจะไปใช้ Virtual Memory จะลดลง ส่วน Virtual Memory คืออะไรนั้น ถ้าพูดง่ายๆ มันคือแรมที่ถูกจำลองขึ้นมาบนฮาร์ดดิสก์เพราะว่าแรมจริงนั้นมีไม่พอที่จะใช้ ทำงาน และอย่างที่เราบอกไปในข้อแรมว่า ฮาร์ดดิสก์ทำงานช้าและใช้พลังงานเยอะมาก นอกจากเครื่องของคุณจะช้าแล้วแบตก็จะหมดไวขึ้น แต่การเพิ่มแรมจนมากเกินไปก็ไม่เป็นประโยชน์ เพราะโปรแกรมไม่สามารถดึงข้อมูลทุกอย่างไปไว้ในแรมได้อย่างเดียว เอาเป็นว่ามีให้เพียงพอก็พอเพียงแล้ว
7. พยายามรันทุกอย่างจากฮาร์ดดิสก์แทน CD หรือ DVD
จริงอยู่ที่ผ่านมาเราอาจจะบอกว่าฮาร์ดดิสก์กินไฟมาก แต่แล้วทำไมถึงแนะนำแบบนี้ นั้นเป็นเพราะถ้าเทียบกับเครื่องเล่น CD / DVD แล้ว จานบินพวกนั้นนรกยิ่งกว่า นอกจากเครื่องจะค่อยๆ หมุนเพื่ออ่านข้อมูลแล้ว อัตราการส่งข้อมูลที่ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ ทำให้เครื่องเล่น CD / DVD เป็นตัวกินไฟยิ่งกว่า ถ้าคุณอยากจะดูหนังหรือว่าใช้ข้อมูลจากแผ่นเป็นประจำ เราขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมทำอิมเมจของแผ่น เช่น CloneCD หรือ Alcohol 120% และเอาไฟล์ที่ได้เปิดกับไดรว์จำลองดีกว่า คุณจะได้ทั้งความเร็วที่เพิ่มขึ้นหลายเท่า ช่วยประหยัดแบตเตอร์รี่ และรักษาสภาพหัวอ่านมากกว่าด้วย
8. ทำความสะอาดแบตเตอร์รี่ของคุณบ้าง
ลองถอดแบตเตอร์รี่ออกมาทำความสะอาดบ้าง โดยเฉพาะจุดที่เป็นขั้วโลหะที่เอาไว้สัมผัส การทำความสะอาดบริเวณนั้นจะทำให้การส่งไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่าเอาน้ำยาอะไรไปเช็ด เพราะว่าถ้าเส้นโลหะบริเวณนั้นหายไป คุณได้ซื้อแบตใหม่แน่ๆ
9. ดูแลรักษาแบตเตอร์รี่ให้ถูกต้อง
การชาร์ตแบตที่ดีไม่ควรจะปล่อยให้ไฟไหลเข้าไปจนเต็มแล้วก็แช่ทิ้งเอาไว้ อย่างนั้น ซึ่งปกติเราก็มักจะทำกัน เราควรจะตัดไฟออกเพื่อให้แบตเตอร์รี่ได้ทำงานเต็มๆ บ้าง และทำแบบนี้ทุกๆ สองถึงสามอาทิตย์ สำหรับแบตรุ่นใหม่ๆ ที่เป็น Li-On อย่าปล่อยให้แบตหมดจนไม่เหลือประจุเลย ถ้าหากอยู่ที่บ้านเราแนะนำให้หาปลั้กกันไฟกระชาก และเสียบทำงานโดยถอดแบตออกดีกว่า จะเป็นการยืดอายุการใช้งานแบตที่ดีมากๆ
10. Hibernate แทนการ Standby
เครื่องทั่วไปมักจะตั้งโหมด Standby เอาไว้เป็นหลัก ทำให้ช่วยเราประหยัดไฟได้ระดับหนึ่ง ถ้าหากว่าเราออกไปธุระที่ไหนนานๆ แต่ว่าถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะใช้ Hibernate มากกว่าเพราะเครื่องคอมของเราจะได้รับการตัดไฟออกไปจริงๆ ส่วนโปรแกรมต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องปิดด้วย เพราะว่าทุกอย่างที่ทำก่อนเข้าโหมด Hibernate จะถูกบันทึกไว้ในฮาร์ดดิสก์ที่มีการสำรองไว้แล้ว แต่เราก็ไม่แนะนำให้ทำบ่อยครั้งติดๆ กันเกินไป เพราะ Windows และโปรแกรมต่างๆ ก็ควรได้รับการรีสตาร์ตเพื่อให้มันทำงานได้เต็มประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
11. พยายามรักษาอุณหภูมิให้ต่ำ
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทจะทำงานได้ดีในอุณหภูมิต่ำๆ ดังนั้น การลงทุนซื้อแผ่นรองโน้ตบุ๊กที่เหมาะกับเครื่องที่คุณมีก็เป็นการลงทุนที่ คุ้มค่า และจะดียิ่งกว่านั้นถ้าตอนที่ซื้อเครื่อง คุณขอร้านมองดูใต้เครื่องก่อนเลยว่ามันมีช่องระบายอากาศเยอะพอไหม เพราะถ้าหากคุณซื้อเครื่องที่ไม่มีช่องระบายอากาศมาเลย ก็คงจะต้องเปิดฝาเล่นกันบ้างล่ะ
12. ปรับแต่งระบบ Power Option
วิธีการที่จะช่วยประหยัดพลังงานได้อีกคือ เข้าไปที Control Panel จากนั้นเปิด Power Option และปรับแต่งการตั้งค่าให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งานของคุณ เช่น ถ้าคุณทำงานออฟฟิตและต้องลุกไปไหนมาไหนบ่อยๆ การตั้งเวลาให้จอปิดภายใน 1 – 3 นาทีเลย ก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะนอกจากมันจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว มันเป็นเรื่องของความปลอดภัยในข้อมูลด้วย
13. อย่าทำงานพร้อมกันหลายๆ อย่าง
ถ้าอยากให้แบตอยู่ได้นานๆ ก็พยายามลดการเปิดโปรแกรมหลายๆ อย่าง ให้ทำงานไปพร้อมกัน เช่น เปิด Microsoft Word เพื่อรอพิมพ์งานขณะที่แชทกับเพื่อนผ่าน MSN ระหว่างปลูกผักใน Facebook และฟังเพลงไปเพลินๆ เราของบอกสั้นๆ ว่า เลือกเอาสักอย่าง
14. จัดลำดับความสำคัญของงาน
อย่างที่รู้ๆ กันว่าการพิมพ์เอกสารกหรือดูอีเมล์ ใช้พลังงานน้อยกว่าการเล่นเกมหรือดูหนังจากแผ่น DVD ดังนั้น ถ้าในแต่ละวัน คุณสามารถชาร์ตแบตไปจากบ้านได้ครั้งเดียว ลองคิดดูก่อนว่ามีงานอะไรที่สำคัญที่สุด พยายามลดการทำอย่างอืนที่ไม่จำเป็นกับเครื่องลง นอกจากประหยัดพลังงานแล้วคุณยังได้เรียนรู้การจัดระเบียบให้ตัวคุณเองด้วย แม้ว่าคุณจะอายุปูดนี้แล้วก็ตาม
15. หาเครื่องใหม่ที่เหมาะกับคุณมากกว่า
เครื่องโน้ตบุ๊กมีการออกแบบให้แตกต่างไปตามกลุ่มผู้ใช้ ถ้าคุณอยากได้แบตยาวๆ และเบา ก็น่าจะลองมองหาเครื่องที่ใช้หน่วยประมวลผลที่กินไฟน้อย หรือเครื่องที่ให้แบตเตอร์รี่เยอะกว่าปกติ แต่ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งว่า เครื่องที่ประหยัดพลังงานมากๆ มักจะช้ากว่าปกติด้วย ดังนั้น ขอให้คุณเลือกเครื่องให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อละกัน
วิธีการป้องกันแบตไม่ให้เสื่อมเร็ว
สำหรับแบตเตอรี่นี่จะเป็นแบตเตอรี่ที่เรียกว่า Lithium นะครับ ซึ่งโน๊ตบุคส่วนใหญ่ก็จะใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ทังนั้นคับ รวมทั้งอุปกรณ์พกพาอย่างอื่นๆด้วยคับ เช่น มือถือ กล้องดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งแบตเตอรี่แบบ lithium นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายน้ำหนักเบา และไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ซึ่งจะต่างจากแบตเตอรี่แบบชาร์ตไฟใหม่ได้ในสมัยก่อนๆ อย่างสิ้นเชิงทั้งในด้านวิธีใช้งาน และการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
แบตเตอรี่แบบ lithium ที่พบเห็นบ่อยๆ ในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
- Lithium-ion หรือตัวย่อว่า Li-ion เป็นแบตเตอรี่ที่พบเห็นมากที่สุด ถือว่าเป็นแบตเตอรี่มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกวันนี้
- Lithium-ion polymer หรือตัวย่อว่า Li-Poly เป็นแบตเตอรี่ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Li-ion โดยจะมีความจุไฟฟ้ามากว่า Li-ion ถึง 20% ในขนาดแบตเตอรี่ที่เท่ากัน
แบตเตอรี่แบบนี้มีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือมีข้อจำกัดเรื่องรูปร่างของเบตเตอรี่น้อยมากจึงทำให้สามารถสร้างแบตเตอรี่แบบ Li-Poly ให้มีขนาดเล็กและบางได้รวมทั้งสามารถสร้างให้มีรูปทรงแปลกๆ ที่ไม่ใช่ทรงกระบอกหรือทรงสี่เหลื่ยมเหมือนแบตเตอรี่แบบเดิมๆได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตของ Li-Poly ยังจัดว่ามีต้นทุนสูงดังนั้นความนิยมจึงยังมีไม่มากเท่าแบตเตอรี่แบบ Li-ion
ทีนี้ลองพลิกดูแบตเตอรี่ของคุณๆ ดูว่าใช่แบตเตอรี่แบบ Lithium กันรึเปล่า ถ้าใช่แล้ว เรามาไขข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแบตเตอรี่ lithium กันเลยดีกว่าครับ
1. ตารางเจ้าปัญหา ความจริงที่ถูกบิดเบือน
หลายๆคนอาจจะเคยเห็นตารางอย่างในรูปข้างบนมาแล้วใช่ไหมครับต้นฉบับที่แท้จริงของตารางข้างบนมาจากเว็บhttp://www.batteryuniversity.com/parttwo-34.htm ครับ ซึ่งในเว็บ และบนหัวตารางก็ระบุไว้อย่างชัดเจนมันคือตาราง charge/discharge rateซึ่งคำว่า charge rate ไม่ได้หมายความว่า
ใช้แบตไปหมดไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้วค่อยชาร์ตไฟกลับคืนเป็น 100%แต่ charge rate หมายถึงอัตราของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ชาร์ตแบตเตอรี่ในช่วงเวลา เช่น ถ้าเรามีแบตเตอรี่ขนาด 10 Ah(ampere-hour) แต่เราชาร์ตไฟด้วยแท่นชาร์ตที่ปล่อยไฟชั่วโมงละ 2 แอมแปร์(ampare) ก็จะต้องใช้เวลาชาร์ตไฟ
เข้าไปในแบตเตอรี่ที่ว่างเปล่าจนไฟเต็มด้วยเวลา 5 ชั่วโมง อัตราการชาร์ตระดับนี้เราเรียกว่าอัตรา C/5
หรือ 0.2C
ส่วนอัตรา 1C ก็คือ ถ้าชาร์ตแบตเตอรี่ขนาด 10Ah ก็ต้องใช้แท่นชาร์ตที่ปล่อยไฟชั่วโมงละ 10 แอมแปร์ก็จะชาร์ดไฟได้เสร็จใน 1 ชั่วโมง
เช่นเดียวกับอัตรา 2C ก็คือ ชาร์ตแบตเตอรี่ขนาด 10Ah
ด้วยแท่นชาร์ตที่ปล่อยไฟชั่วโมงละ 20 แอมแปร์ก็จะชาร์ตไฟได้เสร็จใน 30 นาที
และคำว่า discharge rate ก็จะคล้ายๆกับ charge rate ครับแต่เป็นในทางกลับกันคือเป็นอัตราการใช้ไฟ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตารางข้างต้นแสดงถึงว่าถ้าเราชาร์ตไฟด้วยกระแสไฟสูงในเวลาสั้นหรือใช้ไฟจากแบตในปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น จะทำให้แบตเตอรี่แบบ lithium เสื่อมเร็วขึ้น (จำนวน cycle ลดลง)
ส่วนกรณีที่ยกมาอ้างว่า การชาร์ตไฟบ่อยๆหรือการใช้ไฟจากแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยแล้วรีบชาร์ตกลับให้ เต็ม 100% เป็นการช่วยเพิ่มจำนวน cycle นั้นไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย เพราะ การเพิ่มลดของจำนวน cycle ไม่เกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานว่าใช้มากใช้น้อยแล้วค่อยชาร์ตไฟ แต่จำนวน cycle เกี่ยวข้องโดยตรงกับรูปเครื่องชาร์ตว่าชาร์ตเร็วหรือช้า ถ้ายิ่งชาร์ตเร็วแบตฯก็จะเสี่ยมเร็ว ถ้าเครื่องชาร์ตค่อยๆ ชาร์ตแบตก็จะเสื่อมช้า
2. นับจำนวน Cycle อย่างไร
จำนวน Cycle คือตัวเลขที่บ่งบอกอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ว่าแบตฯจะเริ่มเสื่อมเมื่อผ่าน การชาร์ตไปนานแค่ไหน ถ้าแปลตรงๆตัวคำว่า cycle ก็คือรอบ คำว่ารอบไม่ได้เท่ากับคำว่าครั้ง ดังนั้นการชาร์ต 1 ครั้งจึงไม่เท่ากับ 1 cycle ซะทีเดียว
จำนวน Cycle คือตัวเลขที่บ่งบอกอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ว่าแบตฯจะเริ่มเสื่อมเมื่อผ่าน การชาร์ตไปนานแค่ไหน ถ้าแปลตรงๆตัวคำว่า cycle ก็คือรอบ คำว่ารอบไม่ได้เท่ากับคำว่าครั้ง ดังนั้นการชาร์ต 1 ครั้งจึงไม่เท่ากับ 1 cycle ซะทีเดียว
จำนวน 1 Cycle จะวัดจากปริมาณการชาร์ตไฟที่รวมๆแล้ว เท่ากับปริมาณการชาร์ตไฟจากแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ(0%) จนแบตเตอรี่มีไฟเต็ม(100%) 1 ครั้ง
เช่น ถ้าเราชาร์ตครั้งแรกจากแบตเตอรี่ 50%=>100% การชาร์ตครั้งนี้ก็จะนับเท่ากับ 0.5 cycle
(เก็ทบ่คับ??)
3. ชาร์ตอย่างไรถึงจะดี
หลาย คนคงเคยได้ยินว่าต้องชาร์ตแบตเตอรี่ครั้งแรกเท่านั้นเท่านี้ชั่วโมงแล้วจึง จะเริ่มใช้งานได้ หรือว่าต้องหมั่นชาร์ตบ่อยๆ หรือไม่ก็ใช้ให้ไฟหมดก่อนแล้วค่อยชาร์ต
ซึ่งข้อความทั้งหมดนี้ก็มีข้อจริงและเท็จปนๆกันอันที่จริงแล้วสำหรับแบตเตอรี่แบบ lithium (ย้ำว่าแบบ lithium เท่านั้น)
จะชาร์ตอย่างไรก็ได้ไม่มีผลต่ออายุการใช้งานครับ
ข้อมูลตรงนี้เป็นที่ยืนยันจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ(ทั้งที่อ้างอิงไว้ ข้างล่าง และที่อื่นๆ) มีใจความตรงกันว่า การชาร์ตมาชาร์ตน้อย ชาร์ตนาน ชาร์ตถี่ ชาร์ตบ่อย มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่น้อยมาก ส่วนข้อความข้างต้นที่ยกมานั้นเป็นคำแนะนำสำหรับแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆที่ไม่ ใช่ lithium ครับ
การที่แบตเตอรี่แบบ lithium จะเสื่อมจากการใช้งานนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 เงื่อนไข คือ
- เมื่อใช้งานจนถึงจำนวน Cycle ที่แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมเองตามปกติ
- เมื่อถึงเวลาที่แบตเตอรี่จะเสื่อมมันก็จะเรี่มเสื่อมเอง โดยเวลาที่ว่าเป็นเวลาที่นับตั้งแต่การผลิต ไม่ใช่เวลาในการใช้งาน
- การชาร์ตไฟของตัวชาร์ต (ดังที่กล่าวไปแล้วในข้อ 1)
- อุณหภูมิของแบตเตอรี่ ถ้าแบตเตอรี่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงก็จะส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติได้
4. ได้ยินว่าชาร์ตไฟ 40% แบตจะอยู่ได้นานกว่าจรึงรึเปล่า??
สำหรับแบตเตอรี่แบบ lithium ถ้าชาร์ตไฟที่ 40% แล้วเก็บเอาไว้โดยไม่ใช้งานเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป ตัวแบตจะเสื่อมน้อยกว่าการชาร์ตไฟที่ 100% แล้วเก็บไว้นาน 1 ปีขึ้นไป แต่สำหรับแบตเตอรี่ที่ไม่ได้เก็บไว้นานเกิน 1 ปี หรือแบตเตอรี่ที่ใช้งานตามปกติ(ไม่ได้เก็บเข้ากรุ) อัตราการเสื่อมของแบตเตอรี่
สำหรับแบตเตอรี่แบบ lithium ถ้าชาร์ตไฟที่ 40% แล้วเก็บเอาไว้โดยไม่ใช้งานเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป ตัวแบตจะเสื่อมน้อยกว่าการชาร์ตไฟที่ 100% แล้วเก็บไว้นาน 1 ปีขึ้นไป แต่สำหรับแบตเตอรี่ที่ไม่ได้เก็บไว้นานเกิน 1 ปี หรือแบตเตอรี่ที่ใช้งานตามปกติ(ไม่ได้เก็บเข้ากรุ) อัตราการเสื่อมของแบตเตอรี่
ไม่ว่าจะมีไฟที่ 40% หรือ 100% นั้นแทบจะไม่ต่างกัน
สรุปว่าข้อความข้างต้นเป็นจริงเฉพาะแบตเตอรี่ lithium ที่เก็บไว้นานๆโดยไม่ใช้งานครับ
5. แล้วเวลาใช้งาน Notebook เมื่อเสียบปลั๊กแล้วควรจะถอดแบตหรือไม่
คำตอบนี้ตอบได้ทั้งควร และไม่ควรครับ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานจะเลือกแบบไหน
คำตอบนี้ตอบได้ทั้งควร และไม่ควรครับ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานจะเลือกแบบไหน
1. เสียบปลั๊กแล้วแต่ไม่ถอดแบตฯ
ข้อดี
ข้อดี
- หากระบบไฟฟ้ามีปัญหา ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงาน และงานที่ทำในเครื่อง Notebook เปรียบเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ USP อยู่
- ขั้วแบตเตอรี่จะไม่เกิดปัญหา ฝุ่นผงหรือความชื้นไปเกาะ
- มีความสะดวก สบายในการใช้งาน ไม่ต้องถอดๆใส่ๆ
ข้อเสีย
- แบตเตอรี่จะได้รับความร้อนจากตัวเครื่อง ส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติเล็กน้อย
2. เสียบปลั๊กแล้วถอดแบตฯ
ข้อดี
- แบตเตอรี่จะปลอดภัยต่อความร้อนที่มาจากตัวเครื่อง notebook
- ขั้วแบตเตอรี่อาจเกิดฝุ่นผงหรือมีความขึ้นไปเกาะทำให้เกิดคราบออกไซด์ อาจส่งผลให้เกิดอาการเสียบแบตเตอรี่แล้วไฟไม่เข้าเครื่องได้
- หากระบบไฟมีปัญหา เครื่อง notebook จะดับ ทำให้งานในเครื่องเสียหาย และอาจทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครื่องเสียหายได้
โดยส่วนตัวผมจะแนะนำให้เสียบแบตฯ ทิ้งเอาไว้ครับ เพราะข้อดีมีเยอะกว่าข้อเสียและที่สำคัญคือ ถึงแม้การเสียบแบตฯไว้อาจจะทำให้แบตฯเสื่อมจากความร้อนได้แต่ในความเป็นจริงแล้ว Notebook ทุกวันนี้ออกแบบมาให้ตรงส่วนที่เป็นแบตเตอรี่เป็นฉนวนความร้อนครับ ดังนั้นความร้อนก็จะส่งไปถึงแบตเตอรี่ได้ไม่มากนัก เรียกง่ายๆว่าถ้าเครื่องมันร้อนมากคนใช้ Notebook จะร้อนมือก่อนที่แบตจะร้อนเสียอีกด้วยซ้ำครับ แจ่มดีใช่ไหมละ เอิ้กๆๆ
สรุปสุดท้ายด้วยคำแนะนำสั้นๆ สำหรับแบตเตอรี่ Lithium ดังนี้
- พยายามหลีกเลี่ยงการใช้แบตเตอรี่จดหมดแล้วค่อยชาร์ด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด discharge rate ในอัตราที่สูง (ใช้ไฟเยอะในเวลาอันสั้น) ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว เช่น กรณีที่ต้องการใช้งานเครื่องหนักๆ(กินแบตฯเยอะๆ) ก็ควรใช้แค่ช่วงเวลาไม่นาน และไม่ควรใช้จนแบตหมดครับ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆให้หาโอกาสชาร์ตไฟเป็นระยะๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิด discharge rate ในอัตราที่สูงได้ และที่สำคัญที่สุดคือการชาร์ตบ่อยๆ จะช่วยป้องกันการลืมชาร์ตไฟ ซึ่งถ้าหากปล่อยให้แบต lithium ไฟหมดเป็นเวลานานแบบจะเสียไม่สามารถชาร์ตไฟได้อีก
- ระลึกไว้เสมอว่าแบตฯแบบ lithium ความร้อนมีผลต่อการเสื่อมมากกว่ารูปแบบการชาร์ตไฟ ดังนั้นพยายามดูแลอย่าให้แบตฯร้อนจะได้ผลดีกว่ามัวกังวลเรื่องชาร์ดบ่อย ชาร์ตมาก ชาร์ตน้อย
- เก็บแบตเตอรี่ไว้ในที่เย็นๆ ถ้าจำเป็นจะต้องเก็บ Notebook ไว้ในรถที่จอดตากแดด ก็ควรถอดแบตเตอรี่แยกติดตัวออกมาครับ จะช่วยให้แบตฯเสื่อมช้าลง
- ถ้าจำเป็นจะต้องเป็บแบตไว้เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ใช้งาน ให้ชาร์ตไฟไว้ที่ประมาณ 40% ของความจุ แล้วเก็บไว้ในที่เย็นๆ จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้
- ไม่ควรซื้อแบตเตอร์แบบ lithium มาเก็บไว้เผื่อใช้งาน เพราะแบตแบบ lithium มีอายุการเสื่อมสภาพนับจากวันผลิต(ไม่ใช่วันที่ใช้นะครับ) ดังนั้นถ้าเก็บไว้นานโดยไม่ใช่มันก็จะเสื่อมไปเองได้ครับ และเช่นเดียวกันกับการเลือกซื้อแบตแบบ lithium ไม่ควรซื้อแบตฯแบบเก่าเก็บครับเพราะซื้อมาแล้วใช้ได้ไม่นานแบตฯมันจะเสื่อมตามอายุของมันเองครับ
ที่มา: http://notebookspec.com/
COMMENTS